ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI’s)
- On June 9, 2022
เมื่อมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 สัญญาประกันภัย ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักที่พิจารณาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยดังต่อไปนี้
- ส่วนของผู้ถือหุ้น IFRS (Equity)
- ผลการดำเนินงาน (Operating results)
- อัตราส่วนรวม (Combined ratio; CoR)
- เบี้ยประกันภัยรับรวม (GWP)
- อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (Solvency ratio)
ส่วนของผู้ถือหุ้น (IFRS Equity)
ผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่รายงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงวิธีการวัดมูลค่าที่ใช้เมื่อใช้ IFRS17 ครั้งแรกและลักษณะของสัญญาประกันภัยที่มีผลบังคับ ณ วันที่ใช้ IFRS17 ครั้งแรก
- สําหรับสัญญาประกันระยะสั้น ผลกระทบจะขึ้นอยู่กับว่าสำรองสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นมีการใช้อัตราส่วนคิดลดแล้วหรือไม่ (และอัตราที่ใช้) และขนาดสัมพัทธ์ของอัตราความเสี่ยงที่มีอยู่เมื่อเทียบกับการปรับค่าความเสี่ยงตาม IFRS17
- สําหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวปัจจัยที่มีผลต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่รายงานจะรวมถึง ความแตกต่างของสมมติฐานในปัจจุบันหรืออดีต อัตราความเสี่ยง ตัวเลือกทางการเงินและการรับประกัน ต้นทุนในการได้มาของสัญญาประกันภัย การรับรู้กําไรเมื่อเริ่มสัญญา และขอบเขตที่มีการรวมสัญญาที่เป็นภาระกับสัญญาทีมีกําไร
ผลการดำเนินงาน (Operating result)
ผลการดําเนินงานปัจจุบันสะท้อนถึงผลการดําเนินงานทางธุรกิจโดยการปรับปรุงกําไรก่อนหักภาษีสําหรับ ‘เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น’ IFRS 17 เป็นวิธีการพื้นฐานที่แตกต่างกันในการวัดผลการดําเนินงานทางธุรกิจโดยใช้ผลการให้บริการประกันภัยที่ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่ายในสัญญาประกันภัย ในฐานะที่กิจการให้บริการในช่วงระยะเวลา หนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลือจะลดลงและถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของรายได้จากสัญญาประกันภัย การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบริการที่คาดว่าจะได้รับ โดยการพิจารณาทั้งหมดจะไม่ได้รับการรับรู้ว่าเป็นรายได้จากสัญญาประกันภัย ทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายของสัญญาประกันภัยไม่รวมส่วนประกอบการลงทุนใด ๆ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการประกันภัยควรประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น
อัตราส่วนรวม (Combined Ratio; CoR)
CoR เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักสําหรับสัญญาประกันภัยที่ไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย คํานวณโดยการรวม ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง ค่าคอมมิชชั่นและค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน หารด้วย เบี้ยประกันภัยที่ได้รับสุทธิ โมเดลทางการจัดสรรเบี้ยประกันภัย (วิธีการที่คาดว่าจะใช้สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่สัญญาประกันชีวิต) ถือว่าการรับรู้เบี้ยประกันภัยในช่วงระยะเวลาความคุ้มครองให้ข้อมูลที่คล้ายกันและรูปแบบกําไรเพื่อรับรู้รายได้ของสัญญาประกันภัยโดยใช้โมเดลการวัดมูลค่าทั่วไป สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า CoR ยังคงสามารถใช้งานได้ภายใต้ IFRS17 อย่างไรก็ตามความแตกต่างอาจเกิดขึ้นจาก
- กิจการสามารถเลือกที่จะรับรู้ต้นทุนในการได้มาซึ่งสัญญประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น
- หากกลุ่มของสัญญาจะถือว่าเป็นสัญญาที่เป็นภาระแล้ว กิจการจะต้องคํานวณหนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่โดยใช้โมเดลการวัดมูลค่าตามรูปแบบทั่วไป
- หนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่และสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ควรรวมถึงผลกระทบของการปรับความเสี่ยงและมูลค่าของเงิน
เบี้ยประกันภัยรับรวม (GWP)
GWP เป็นเบี้ยประกันภัยรับรวมก่อนการประกันภัยต่อและค่าคอมมิชชั่นจากการส่งประกันภัยต่อ และใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักสําหรับความสําเร็จในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ IFRS17 เบี้ยประกันภัยรับรวมนี้จะไม่ถูกรายงานในงบกําไรขาดทุน แต่จะถูก ‘แทนที่’ ด้วย รายได้จากสัญญาประกันภัย รายได้จากสัญญาประกันภัยแสดงถึงการพิจารณาในการให้บริการในระหว่างงวด โดยทั่วไปรายได้ของสัญญาประกันภัยทั้งหมดตลอดระยะเวลาของสัญญาคือจํานวนเบี้ยประกันภัยของผู้ถือกรมธรรม์ที่ชําระแล้วหลังการปรับมูลค่าของเงินและไม่รวมส่วนประกอบการลงทุน
อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (Solvency ratio)
อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงินที่จัดทําโดยกรอบ Solvency II ได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สําคัญสําหรับฐานะทางการเงินของบริษัทประกันภัย เนื่องจาก IFRS 17 ขาดแนวคิดของเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (ยกเว้นการปรับค่าความเสี่ยง) คาดว่าบริษัทประกันภัยจะต้องใช้การประเมินทั้งสองกรอบมาตรฐานแยกต่างหาก โดย IFRS 17 จะให้ข้อมูลทางธุรกิจที่สําคัญแก่นักวิเคราะห์และนักลงทุน ในขณะที่ Solvency II สามารถทําหน้าที่เป็นเงื่อนไขที่จําเป็นสําหรับการดําเนินธุรกิจที่มั่นคงต่อไป
ตัวชี้วัดใหม่ (ที่คาดว่าจะใช้) ตาม IFRS17
เนื่องจาก IFRS17 ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ๆ แก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น:
- การวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวจะให้ข้อมูลใหม่และมีประโยชน์เกี่ยวกับปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์และหนี้สินของสัญญาประกันภัยและการพัฒนาการของค่าปรับความเสี่ยง (RA) และอัตรากําไรขั้นต้นตามสัญญา (CSM) ตลอดระยะเวลาการรายงาน
- CSM ที่ได้รับการรับรู้ในการรับรู้ครั้งแรกของสัญญาจะเป็นตัววัดมูลค่าเพิ่มโดยธุรกิจใหม่ที่สามารถแทนที่ตัวชี้วัดมูลค่าของประสิทธิภาพที่ใช้อยู่คือ embedded value หรือตัววัดมูลค่าตามกฎหมาย
- การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทยอยรับรู้ CSM ในอนาคตในกําไรและขาดทุนให้ข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับจำนวน ความเร็วช้าและระยะเวลาในการรับรู้ผลกำไรในอนาคตที่เกิดจากธุรกิจที่มีผลบังคับอยู่
อัตรากำไรขั้นต้นตามสัญญา (CSM)
CSM จะเป็นตัววัดมูลค่าสําหรับมูลค่าเพิ่มโดยธุรกิจใหม่ (VoNB) กิจการจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวน ความเร็วช้าและระยะเวลาของการรับรู้ผลกําไรในอนาคต (หรือขาดทุน)สําหรับธุรกิจที่มีผลบังคับอยู่ เนื่องจาก CSM ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเส้นโค้งอัตราส่วนลดที่เลือกใช้ ซึ่งหมายความว่ากิจการสามารถเลือกให้มีผลต่อจำนวน ความเร็วช้าและระยะเวลาในการรับรู้ผลกำไร ณ วันที่เปลี่ยนผ่าน นอกจากนี้ความสัมพันธ์ระหว่าง CSM และส่วนของผู้ถือหุ้นอาจถูกมองว่าเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีที่สุด กล่าวคือ ยิ่ง CSM ในวันที่เปลี่ยนแปลงสูงมากเท่าไหร่ กำไรสะสมและส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะยิ่งน้อย เนื่องจาก CSM สําหรับธุรกิจที่มีผลบังคับอยู่ ไม่เหมือนกับ VoNB (สามารถตีความได้ว่า เป็นการทยอยรับรู้ออกจากสามเหลี่ยมกําไรที่ยังไม่ได้รับรู้) การตีความของ CSM เป็นจุดที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมกับความจริงที่ว่าการขาดทุนต้องรับรู้ทันทีทางบัญชี
ผลประกอบการบริการประกันภัย (Insurance service result)
โดยพื้นฐานแล้วบริษัทประกันภัยจะได้รับผลกําไรจากภาระผูกพันในสัญญาการรับประกันภัยในด้านหนึ่ง และจากสินทรัพย์ที่ถือครองโดยบริษัทในอีกด้านหนึ่ง การแยกตัวขับเคลื่อนกําไรดังกล่าวจะเห็นอย่างชัดเจนโดยการสลายตัวระหว่างผลประกอบการบริการประกันภัยและผลประกอบการทางการเงิน เมื่อนำ ผลประกอบการบริการประกันภัย หารด้วย จํานวนกําไรทั้งหมด อาจเป็นตัวชี้วัดใหม่ของผลการดําเนินงานประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของสินทรัพย์
CoR 2.0
วิธีการเดียวกันกับ COR ‘เก่า’ สามารถนํามาใช้ในบริบทของ IFRS 17 โดยการนำ สินไหมทดแทนที่เรียกร้องและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง หารด้วย สินไหมทดแทนที่เรียกร้องและค่าใช้จ่ายที่คาดหวังตามที่รวมอยู่ในรายได้บริการประกันภัย (คาดว่าจะทยอยรับรู้จากสำรองประกันภัย) วิธีการ CoR ‘ใหม่’ นี้สามารถใช้ได้ทั้งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ค่าใช้จ่ายทางการเงิน
ผลกระทบของความเสี่ยงทางการเงินจะถูกแสดงในค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของ(การเปลี่ยนแปลง) อัตราคิดลด และตัวแปรทางการเงินอื่นๆ เกี่ยวกับมูลค่าของภาระผูกพันของการประกันภัย ค่าใช้จ่ายทางการเงินจะถูกนําเสนอแยกต่างหากจากผลการดำเนินงานด้านการประกันภัย เพื่อให้ภาพที่ชัดเจนของตัวขับเคลื่อนกําไร
ข้อควรพิจารณาอื่นๆ
ข้อควรพิจารณาอื่นๆในการเปลี่ยนแปลงได้แก่:
- RBC II การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (RBC) และผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นจุดสนใจหลักของนักวิเคราะห์และนักลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านคาดว่าจะมีการกระทบยอดระหว่างกำไร(ขาดทุน)ตามกรอบการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง และกําไร(ขาดทุน)ตาม IFRS 17 ความคิดที่น่าสนใจคือกำไร(ขาดทุน)ควรจะใช้ตามกฏเกณฑ์ใดเป็นหลักในการติดตามผลการดําเนินงานของบริษัทประกันภัย การประเมินความมั่นคงทางการเงินตามระดับความเสี่ยงควรถูกพิจารณาใหม่เช่นกัน
- ORSA โดยทั่วไป ORSA จะขึ้นอยู่กับแผนงบประมาณรายปีของกิจการ (IFRS)หลายปี เมื่อมาตรฐานในการทำงบการเงินกำลังจะเปลี่ยนแปลง ORSA จะได้รับผลกระทบเช่นกัน สิ่งนี้ไม่เพียง แต่เกี่ยวข้องกับความแตกต่างที่อาจเกิดขึ้น (เส้นโค้งอัตราคิดลดกระแสเงินสดของสัญญาประกันภัย และอื่นๆ) แต่ยังรวมถึงการกำหนดเป้าหมายด้วย หากมีการกำหนดเป้าหมายในตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักอื่น ๆ วิธีการประเมินเหล่านี้โดยวิธีการของ ORSA ควรถูกพิจารณาใหม่ด้วย
- นโยบายค่าตอบแทนนโยบายค่าตอบแทนควรให้รางวัลแก่ประสิทธิภาพและพฤติกรรมที่ดีของพนักงานเนื่องจากผลลัพธ์ของ IFRSมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญภายใต้IFRS17นโยบายค่าตอบแทนควรได้รับการปรับปรุงตามนั้น
บทสรุป
IFRS 17 (และ 9) จะเปลี่ยนวิธีที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนมองบริษัทประกันภัย ชุด KPI ปัจจุบัน จะต้องได้รับการแก้ไขและรวมอยู่ในวงจรการวางแผนและการควบคุมขององค์กร ผลกระทบทางอ้อมรวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับ RBC II, ORSA และนโยบายค่าตอบแทน และการคำนวณมูลค่าต่างๆ เวลาจะทำให้เรียนรู้ว่าเป้าหมายหลักของ IFRS 17 (เช่น ปรับปรุงความโปร่งใสและการเปรียบเทียบ) จะประสบความสําเร็จหรือไม่ การปฏิบัติทางบัญชีที่สอดคล้องกันไม่จําเป็นต้องนําไปสู่ความโปร่งใสและการเปรียบเทียบที่มากขึ้น เนื่องจากหลักการตามมาตรฐานทําให้มีหลายสิ่งมากมายสําหรับการตีความที่เป็น ‘ของตัวเอง’
อ้างอิงจาก บทความ Change to key performance indicators under IFRS17 โดย MSc L. de Boer AAG CERA, manager Financial Performance Management – Segment Life at a.s.r. ‘She has written this article on behalf of the AAG Insurance Committee
0 Comments