ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI’s)
- On June 9, 2022
เมื่อมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 สัญญาประกันภัย ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักที่พิจารณาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น IFRS (Equity) ผลการดำเนินงาน (Operating results) อัตราส่วนรวม (Combined ratio; CoR) เบี้ยประกันภัยรับรวม (GWP) อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (Solvency ratio) ส่วนของผู้ถือหุ้น (IFRS Equity) ผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่รายงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงวิธีการวัดมูลค่าที่ใช้เมื่อใช้ IFRS17 ครั้งแรกและลักษณะของสัญญาประกันภัยที่มีผลบังคับ ณ วันที่ใช้ IFRS17 ครั้งแรก สําหรับสัญญาประกันระยะสั้น ผลกระทบจะขึ้นอยู่กับว่าสำรองสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นมีการใช้อัตราส่วนคิดลดแล้วหรือไม่ (และอัตราที่ใช้) และขนาดสัมพัทธ์ของอัตราความเสี่ยงที่มีอยู่เมื่อเทียบกับการปรับค่าความเสี่ยงตาม IFRS17 สําหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวปัจจัยที่มีผลต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่รายงานจะรวมถึง ความแตกต่างของสมมติฐานในปัจจุบันหรืออดีต อัตราความเสี่ยง ตัวเลือกทางการเงินและการรับประกัน ต้นทุนในการได้มาของสัญญาประกันภัย การรับรู้กําไรเมื่อเริ่มสัญญา และขอบเขตที่มีการรวมสัญญาที่เป็นภาระกับสัญญาทีมีกําไร ผลการดำเนินงาน (Operating result) ผลการดําเนินงานปัจจุบันสะท้อนถึงผลการดําเนินงานทางธุรกิจโดยการปรับปรุงกําไรก่อนหักภาษีสําหรับ ‘เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น’ IFRS 17 เป็นวิธีการพื้นฐานที่แตกต่างกันในการวัดผลการดําเนินงานทางธุรกิจโดยใช้ผลการให้บริการประกันภัยที่ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่ายในสัญญาประกันภัย ในฐานะที่กิจการให้บริการในช่วงระยะเวลา หนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลือจะลดลงและถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของรายได้จากสัญญาประกันภัย การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบริการที่คาดว่าจะได้รับ โดยการพิจารณาทั้งหมดจะไม่ได้รับการรับรู้ว่าเป็นรายได้จากสัญญาประกันภัย ทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายของสัญญาประกันภัยไม่รวมส่วนประกอบการลงทุนใด ๆ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการประกันภัยควรประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น อัตราส่วนรวม (Combined Ratio; CoR) CoR เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักสําหรับสัญญาประกันภัยที่ไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย คํานวณโดยการรวม ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง ค่าคอมมิชชั่นและค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน หารด้วย เบี้ยประกันภัยที่ได้รับสุทธิ โมเดลทางการจัดสรรเบี้ยประกันภัย (วิธีการที่คาดว่าจะใช้สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่สัญญาประกันชีวิต) ถือว่าการรับรู้เบี้ยประกันภัยในช่วงระยะเวลาความคุ้มครองให้ข้อมูลที่คล้ายกันและรูปแบบกําไรเพื่อรับรู้รายได้ของสัญญาประกันภัยโดยใช้โมเดลการวัดมูลค่าทั่วไป สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า CoR ยังคงสามารถใช้งานได้ภายใต้ IFRS17 อย่างไรก็ตามความแตกต่างอาจเกิดขึ้นจาก กิจการสามารถเลือกที่จะรับรู้ต้นทุนในการได้มาซึ่งสัญญประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น หากกลุ่มของสัญญาจะถือว่าเป็นสัญญาที่เป็นภาระแล้ว กิจการจะต้องคํานวณหนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่โดยใช้โมเดลการวัดมูลค่าตามรูปแบบทั่วไป หนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่และสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ควรรวมถึงผลกระทบของการปรับความเสี่ยงและมูลค่าของเงิน เบี้ยประกันภัยรับรวม (GWP) GWP เป็นเบี้ยประกันภัยรับรวมก่อนการประกันภัยต่อและค่าคอมมิชชั่นจากการส่งประกันภัยต่อ และใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักสําหรับความสําเร็จในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ IFRS17 เบี้ยประกันภัยรับรวมนี้จะไม่ถูกรายงานในงบกําไรขาดทุน แต่จะถูก ‘แทนที่’ ด้วย รายได้จากสัญญาประกันภัย รายได้จากสัญญาประกันภัยแสดงถึงการพิจารณาในการให้บริการในระหว่างงวด โดยทั่วไปรายได้ของสัญญาประกันภัยทั้งหมดตลอดระยะเวลาของสัญญาคือจํานวนเบี้ยประกันภัยของผู้ถือกรมธรรม์ที่ชําระแล้วหลังการปรับมูลค่าของเงินและไม่รวมส่วนประกอบการลงทุน อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (Solvency ratio) อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงินที่จัดทําโดยกรอบ Solvency II ได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สําคัญสําหรับฐานะทางการเงินของบริษัทประกันภัย เนื่องจาก IFRS 17 ขาดแนวคิดของเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (ยกเว้นการปรับค่าความเสี่ยง) คาดว่าบริษัทประกันภัยจะต้องใช้การประเมินทั้งสองกรอบมาตรฐานแยกต่างหาก โดย IFRS 17 […]
Read More