• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • ติดต่อเรา
Featured Image

Executive Summary จากรายงานผลสำรวจการเตรียมความพร้อม IFRS17

  • On June 23, 2022
เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ผมได้รับเอกสารเกี่ยวกับการสำรวจความพร้อมของการนำ IFRS17 ไปปฏิบัติ จึงได้แปลส่วนที่เป็นบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) จากรายงานสำรวจดังกล่าว เหมาะสำหรับท่านที่มีเวลาอ่านไม่มาก ดังนี้ รายงานผลสำรวจการเตรียมความพร้อมของ IFRS17 (IFRS17 Preparedness Report) The Actuary และ Moody’s Analytics ได้ทำการสำรวจในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เพื่อแสวงหามุมมองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ต่อการเตรียมความพร้อมของ IFRS 17 การสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ทราบถึงความคืบหน้าในการดำเนินงาน IFRS 17 โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา แบบสำรวจมีคำถาม 31 ข้อ และสำรวจในส่วนของวิธีการที่สำคัญหลายเรื่อง รายงานนี้สรุปคำตอบเหล่านั้น และเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ดำเนินการในปี 2564 การปรับปรุงความเสี่ยงสำหรับความเสี่ยงที่ไม่ใช่ความเสี่ยงทางการเงิน IFRS 17 อนุญาตให้มีแนวทางที่แตกต่างกันในการคำนวณการปรับความเสี่ยง และคำตอบก็แสดงว่า ได้มีการปรับปรุงการคำนวณเพิ่มเติมจากการสำรวจปีที่แล้ว น่าแปลกที่มีการรายงานคู่ขนานว่า หนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามยังไม่ตัดสินใจเลือกวิธีการของพวกเขา สำหรับกลุ่มที่ตัดสินใจแล้ว วิธีต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ยังคงเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย และ วิธี VaR กลายเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับบริษัทประกันชีวิต (เปลี่ยนจากปีที่แล้ว ที่ส่วนใหญ่ใช้วิธีมาร์จิ้น/สำรองสำหรับความผันผวนที่ไม่พึงประสงค์) นอกจากนี้การปรับปรุงความเสี่ยง ดูเหมือนจะได้รับการปรับแต่งเพิ่มเติมด้วย โดยผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าเดิมคาดว่าจะเปิดเผย ระดับความเชื่อมั่นเทียบเท่ากับช่วงร้อยละ 80 ถึง 90 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระบุว่า การปรับปรุงความเสี่ยงจะถูกคำนวณนอกวงจร หรือนอกวงจรด้วยรูปแบบบางอย่างที่เป็นการประมาณการ นี่แสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ กำลังพิจารณา IFRS 17 ในบริบทของรอบการรายงานที่วงที่กว้างขึ้น และเป็นการวางแผนเพื่อใช้กระบวนการที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สุงสุด อัตราคิดลด IFRS 17 ได้ให้สองแนวทางที่แตกต่างกันในการสร้างเส้นโค้งอัตราผลตอบแทน และใช้เป็นอัตราคิดลด – “แนวทางจากบนลงล่าง (top-down approach)” และ “แนวทางจากล่างขึ้นบน (bottom-up approach)” ผลสำรวจบ่งบอกว่าเราคาดได้ว่าจะเห็นการนำทั้งสองแนวทางมาใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม ในการออกงบการเงินชุดแรกภายใต้มาตรฐาน IFRS 17 อย่างไรก็ตาม แนวทางจากล่างขึ้นบน (โดยที่อัตราคิดลดสร้างโดยการบวกค่าพรีเมี่ยมสภาพคล่องบนเส้นโค้งที่ปราศจากความเสี่ยง) ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากที่สุด โดยมีสองในสามของผู้เข้าร่วมสำรวจเลือกแนวทางนี้ พิจารณาจากความนิยมของวิธีการจากล่างขึ้นบน เป็นที่น่าแปลกใจว่าผู้เข้าร่วมเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้นที่วางแผนจัดกลุ่มสภาพคล่อง ภายใต้ IFRS 17 นั้น เส้นโค้งอัตราคิดลดควรสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของสัญญาประกันภัยที่มีระยะเวลาต่างกัน และกลุ่มสภาพคล่องเป็นทางเดียวที่จะทำสิ่งนี้เพื่อลักษณะเฉพาะนั้น บางทีแนวทางการแบ่งกลุ่มอาจจะใช้ดุลพินิจมากเกินไป หรือบริษัทต่างๆ กำลังคิดที่จะนำเอาแนวทางแบบเดียวกับการปรับปรุงความผันผวนของ Solvency II […]
Read More
 
Featured Image

ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI’s)

  • On June 9, 2022
เมื่อมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 สัญญาประกันภัย ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักที่พิจารณาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยดังต่อไปนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น IFRS (Equity) ผลการดำเนินงาน (Operating results) อัตราส่วนรวม (Combined ratio; CoR) เบี้ยประกันภัยรับรวม (GWP) อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (Solvency ratio) ส่วนของผู้ถือหุ้น (IFRS Equity) ผลกระทบต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่รายงานจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมถึงวิธีการวัดมูลค่าที่ใช้เมื่อใช้ IFRS17 ครั้งแรกและลักษณะของสัญญาประกันภัยที่มีผลบังคับ ณ วันที่ใช้ IFRS17 ครั้งแรก สําหรับสัญญาประกันระยะสั้น ผลกระทบจะขึ้นอยู่กับว่าสำรองสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นมีการใช้อัตราส่วนคิดลดแล้วหรือไม่ (และอัตราที่ใช้) และขนาดสัมพัทธ์ของอัตราความเสี่ยงที่มีอยู่เมื่อเทียบกับการปรับค่าความเสี่ยงตาม IFRS17 สําหรับสัญญาประกันภัยระยะยาวปัจจัยที่มีผลต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่รายงานจะรวมถึง ความแตกต่างของสมมติฐานในปัจจุบันหรืออดีต อัตราความเสี่ยง ตัวเลือกทางการเงินและการรับประกัน ต้นทุนในการได้มาของสัญญาประกันภัย การรับรู้กําไรเมื่อเริ่มสัญญา และขอบเขตที่มีการรวมสัญญาที่เป็นภาระกับสัญญาทีมีกําไร ผลการดำเนินงาน (Operating result) ผลการดําเนินงานปัจจุบันสะท้อนถึงผลการดําเนินงานทางธุรกิจโดยการปรับปรุงกําไรก่อนหักภาษีสําหรับ ‘เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น’ IFRS 17 เป็นวิธีการพื้นฐานที่แตกต่างกันในการวัดผลการดําเนินงานทางธุรกิจโดยใช้ผลการให้บริการประกันภัยที่ประกอบด้วยรายได้และค่าใช้จ่ายในสัญญาประกันภัย ในฐานะที่กิจการให้บริการในช่วงระยะเวลา หนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลือจะลดลงและถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของรายได้จากสัญญาประกันภัย การเปลี่ยนแปลงในหนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับบริการที่คาดว่าจะได้รับ โดยการพิจารณาทั้งหมดจะไม่ได้รับการรับรู้ว่าเป็นรายได้จากสัญญาประกันภัย ทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายของสัญญาประกันภัยไม่รวมส่วนประกอบการลงทุนใด ๆ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการให้บริการประกันภัยควรประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น อัตราส่วนรวม (Combined Ratio; CoR) CoR เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักสําหรับสัญญาประกันภัยที่ไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตที่ถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย คํานวณโดยการรวม ค่าสินไหมทดแทนที่เรียกร้อง ค่าคอมมิชชั่นและค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน หารด้วย เบี้ยประกันภัยที่ได้รับสุทธิ โมเดลทางการจัดสรรเบี้ยประกันภัย (วิธีการที่คาดว่าจะใช้สําหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่สัญญาประกันชีวิต) ถือว่าการรับรู้เบี้ยประกันภัยในช่วงระยะเวลาความคุ้มครองให้ข้อมูลที่คล้ายกันและรูปแบบกําไรเพื่อรับรู้รายได้ของสัญญาประกันภัยโดยใช้โมเดลการวัดมูลค่าทั่วไป สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่า CoR ยังคงสามารถใช้งานได้ภายใต้ IFRS17 อย่างไรก็ตามความแตกต่างอาจเกิดขึ้นจาก กิจการสามารถเลือกที่จะรับรู้ต้นทุนในการได้มาซึ่งสัญญประกันภัยเป็นค่าใช้จ่ายจริงที่เกิดขึ้น หากกลุ่มของสัญญาจะถือว่าเป็นสัญญาที่เป็นภาระแล้ว กิจการจะต้องคํานวณหนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่โดยใช้โมเดลการวัดมูลค่าตามรูปแบบทั่วไป หนี้สินสําหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่และสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น ควรรวมถึงผลกระทบของการปรับความเสี่ยงและมูลค่าของเงิน เบี้ยประกันภัยรับรวม (GWP) GWP เป็นเบี้ยประกันภัยรับรวมก่อนการประกันภัยต่อและค่าคอมมิชชั่นจากการส่งประกันภัยต่อ และใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักสําหรับความสําเร็จในเชิงพาณิชย์ ภายใต้ IFRS17 เบี้ยประกันภัยรับรวมนี้จะไม่ถูกรายงานในงบกําไรขาดทุน แต่จะถูก ‘แทนที่’ ด้วย รายได้จากสัญญาประกันภัย รายได้จากสัญญาประกันภัยแสดงถึงการพิจารณาในการให้บริการในระหว่างงวด โดยทั่วไปรายได้ของสัญญาประกันภัยทั้งหมดตลอดระยะเวลาของสัญญาคือจํานวนเบี้ยประกันภัยของผู้ถือกรมธรรม์ที่ชําระแล้วหลังการปรับมูลค่าของเงินและไม่รวมส่วนประกอบการลงทุน อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงิน (Solvency ratio) อัตราส่วนความมั่นคงทางการเงินที่จัดทําโดยกรอบ Solvency II ได้กลายเป็นตัวชี้วัดที่สําคัญสําหรับฐานะทางการเงินของบริษัทประกันภัย เนื่องจาก IFRS 17 ขาดแนวคิดของเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (ยกเว้นการปรับค่าความเสี่ยง) คาดว่าบริษัทประกันภัยจะต้องใช้การประเมินทั้งสองกรอบมาตรฐานแยกต่างหาก โดย IFRS 17 […]
Read More
 
Featured Image

PAA Eligibility Check(list) : (ราย)การตรวจสิทธิการนำวิธีวัดมูลค่าอย่างง่ายมาใช้

  • On September 17, 2021
สืบเนื่องจากการเขียนบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีวัดมูลค่าของบริษัทประกันวินาศภัย ทำให้นึกถึงงานที่เพื่อนของผม คือ คุณสุชิน พงษ์พึ่งพิทักษ์ ได้ทำการตีความจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 17 เกี่ยวกับการตรวจสิทธิการนำวิธีวัดมูลค่าอย่างง่ายมาใช้
Read More
 
Featured Image

การเลือกวิธีวัดมูลค่าตาม IFRS17 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย (ตอนที่ 3 : ขั้นตอนการพิจารณา หากต้องการเลือกใช้วิธี PAA (ต่อ))

  • On September 13, 2021
มาถึงตอนสุดท้ายของซีรี่ส์การวัดมูลค่าตาม IFRS17 ยังมีอีกสองประเด็นที่บริษัทต้องพิจารณาหากสนใจที่จะเลือกใช้วิธี PAA ได้แก่ การทำสรุปรายการยกเว้นที่ PAA ไม่ต้องปฏิบัติเหมือนกับวิธีการวัดมูลค่าทั่วไป GMM และการเปิดเผยข้อมูลของวิธีการวัดมูลค่าอย่างง่าย PAA
Read More
 
Featured Image

การเลือกวิธีวัดมูลค่าตาม IFRS17 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย (ตอนที่ 2 : ขั้นตอนการพิจารณา หากต้องการเลือกใช้วิธี PAA)

  • On September 5, 2021
ต่อจากบทความที่แล้ว หลังจากรู้แล้วว่าบริษัทประกันวินาศภัยมีทางเลือกอยู่หลายทางในการเลือกวิธีวัดมูลค่า แต่วิธี PAA ถือว่าเป็นวิธีที่มีความน่าสนใจเนื่องจากถือว่าเป็นวิธีที่มีต้นทุนในการนำไปใช้ที่ต่ำกว่า ดังนั้น หากท่านสนใจที่จะเลือกใช้วิธี PAA บทความนี้ได้สรุปสิ่งที่บริษัทต้องพิจารณา โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก
Read More
 
Featured Image

การเลือกวิธีวัดมูลค่าตาม IFRS17 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย (ตอนที่ 1 : PAA หรือ GMM ควรเลือกใช้วิธีไหน?)

  • On August 31, 2021
หลังจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีสากล (IASB) ได้กำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 “สัญญาประกันภัย” (IFRS17) เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งจะมาใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 4 (IFRS4) ที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 วัตถุประสงค์สำคัญคือการกำหนดให้การวัดมูลค่าสำหรับสัญญาประกันภัย มีความสอดคล้องกันสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยทั่วโลก ผ่านมา 3 ปีทางคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล (IASB) ได้เผยแพร่ IFRS17 ฉบับแก้ไข เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2563 รวมถึงการเลื่อนวันกำหนดใช้มาตรฐานไปเป็น ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2566 ซึ่งสำหรับประเทศไทยจะเป็น 1 มกราคม พ.ศ.2567 ( 1 ปีช้ากว่าการนำไปใช้ของทั่วโลก)
Read More
 
Featured Image

กระทรวงแรงงาน ปรับปรุงอัตราค่าทำศพลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายเพิ่มเป็น 50,000 บาท

  • On July 22, 2021
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่ายเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย ในอัตรา 50,000 บาท หลายกิจการอาจจะสงสัยว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นภาระโดยตรงของกิจการหรือไม่ และในเรื่องของการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์พนักงาน จำเป็นที่ต้องตั้งสำรองเพิ่มเติมหรือไม่ หากต้องตั้งสำรองจะมีจำนวนประมาณเท่าไร
Read More
 
Featured Image

5 คำถามยอดนิยมเกี่ยวกับ IFRS 17 จากนักลงทุนและนักวิเคราะห์

  • On November 11, 2020
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มมีการประกาศเกี่ยวกับ IFRS 17 คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) ได้จัดประชุมสัมมนาให้ความรู้แก่นักลงทุนและนักวิเคราะห์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ IFRS 17 โดยหนึ่งในคณะกรรมการของ IASB (Mr. Nick Anderson) ได้เขียนสรุป 5 คำถามยอดนิยมจากนักลงทุนและนักวิเคราะห์เอาไว้ ทาง TEC เห็นว่าเป็นคำถาม-คำตอบที่มีความน่าสนใจ จึงแปลเนื้อหาเหล่านี้แชร์ให้แฟนเพจได้อ่านกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
Read More
 
Featured Image

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการประเมินผลประโยชน์พนักงาน

  • On October 6, 2020
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ที่แพร่ระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน  กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของไทยเป็นอย่างมาก  สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งคาดว่าแนวโน้มของการฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี  ก่อนที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาอยู่ในระดับก่อนการระบาด…เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการประเมินผลประโยชน์พนักงานอย่างไร…
Read More
 1
Featured Image

วิถีใหม่สำหรับการประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19

  • On June 26, 2020
ภาพของการประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อมาตรฐานฯฉบับนี้บังคับใช้เมื่อปี 2554 ค่อนข้างมาก จากเดิมที่กิจการจะประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ณ วันสิ้นรอบบัญชี พร้อมประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีหนี้สินผลประโยชน์ไปล่วงหน้าอีก 3 ปี
Read More
 
Page 1 of 3123
Categories
  • Business issues
  • Events & News
  • IFRS17
  • Insurance updates
  • TAS 19 / IAS 19 Employee Benefits
  • Uncategorized
Scroll
Copyright 2022 Team Excellence Consulting Co., Ltd. All rights reserved