Executive Summary จากรายงานผลสำรวจการเตรียมความพร้อม IFRS17
- On June 23, 2022
เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ผมได้รับเอกสารเกี่ยวกับการสำรวจความพร้อมของการนำ IFRS17 ไปปฏิบัติ จึงได้แปลส่วนที่เป็นบทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) จากรายงานสำรวจดังกล่าว เหมาะสำหรับท่านที่มีเวลาอ่านไม่มาก ดังนี้
รายงานผลสำรวจการเตรียมความพร้อมของ IFRS17 (IFRS17 Preparedness Report)
The Actuary และ Moody’s Analytics ได้ทำการสำรวจในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เพื่อแสวงหามุมมองของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ต่อการเตรียมความพร้อมของ IFRS 17 การสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ทราบถึงความคืบหน้าในการดำเนินงาน IFRS 17 โดยเฉพาะในปีที่ผ่านมา แบบสำรวจมีคำถาม 31 ข้อ และสำรวจในส่วนของวิธีการที่สำคัญหลายเรื่อง รายงานนี้สรุปคำตอบเหล่านั้น และเปรียบเทียบกับการสำรวจที่ดำเนินการในปี 2564
- การปรับปรุงความเสี่ยงสำหรับความเสี่ยงที่ไม่ใช่ความเสี่ยงทางการเงิน
IFRS 17 อนุญาตให้มีแนวทางที่แตกต่างกันในการคำนวณการปรับความเสี่ยง และคำตอบก็แสดงว่า ได้มีการปรับปรุงการคำนวณเพิ่มเติมจากการสำรวจปีที่แล้ว
น่าแปลกที่มีการรายงานคู่ขนานว่า หนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามยังไม่ตัดสินใจเลือกวิธีการของพวกเขา สำหรับกลุ่มที่ตัดสินใจแล้ว วิธีต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ยังคงเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับบริษัทประกันวินาศภัย และ วิธี VaR กลายเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับบริษัทประกันชีวิต (เปลี่ยนจากปีที่แล้ว ที่ส่วนใหญ่ใช้วิธีมาร์จิ้น/สำรองสำหรับความผันผวนที่ไม่พึงประสงค์) นอกจากนี้การปรับปรุงความเสี่ยง ดูเหมือนจะได้รับการปรับแต่งเพิ่มเติมด้วย โดยผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าเดิมคาดว่าจะเปิดเผย ระดับความเชื่อมั่นเทียบเท่ากับช่วงร้อยละ 80 ถึง 90
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ระบุว่า การปรับปรุงความเสี่ยงจะถูกคำนวณนอกวงจร หรือนอกวงจรด้วยรูปแบบบางอย่างที่เป็นการประมาณการ นี่แสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ กำลังพิจารณา IFRS 17 ในบริบทของรอบการรายงานที่วงที่กว้างขึ้น และเป็นการวางแผนเพื่อใช้กระบวนการที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สุงสุด
- อัตราคิดลด
IFRS 17 ได้ให้สองแนวทางที่แตกต่างกันในการสร้างเส้นโค้งอัตราผลตอบแทน และใช้เป็นอัตราคิดลด – “แนวทางจากบนลงล่าง (top-down approach)” และ “แนวทางจากล่างขึ้นบน (bottom-up approach)” ผลสำรวจบ่งบอกว่าเราคาดได้ว่าจะเห็นการนำทั้งสองแนวทางมาใช้ทั่วทั้งอุตสาหกรรม ในการออกงบการเงินชุดแรกภายใต้มาตรฐาน IFRS 17 อย่างไรก็ตาม แนวทางจากล่างขึ้นบน (โดยที่อัตราคิดลดสร้างโดยการบวกค่าพรีเมี่ยมสภาพคล่องบนเส้นโค้งที่ปราศจากความเสี่ยง) ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมมากที่สุด โดยมีสองในสามของผู้เข้าร่วมสำรวจเลือกแนวทางนี้
พิจารณาจากความนิยมของวิธีการจากล่างขึ้นบน เป็นที่น่าแปลกใจว่าผู้เข้าร่วมเพียงหนึ่งในสี่เท่านั้นที่วางแผนจัดกลุ่มสภาพคล่อง ภายใต้ IFRS 17 นั้น เส้นโค้งอัตราคิดลดควรสะท้อนถึงลักษณะเฉพาะของสัญญาประกันภัยที่มีระยะเวลาต่างกัน และกลุ่มสภาพคล่องเป็นทางเดียวที่จะทำสิ่งนี้เพื่อลักษณะเฉพาะนั้น บางทีแนวทางการแบ่งกลุ่มอาจจะใช้ดุลพินิจมากเกินไป หรือบริษัทต่างๆ กำลังคิดที่จะนำเอาแนวทางแบบเดียวกับการปรับปรุงความผันผวนของ Solvency II มาใช้ หากเป็นเช่นนั้นและเตรียมแนวทางให้สอดคล้องกับกฏระเบียบของบริษัทประกันภัยในยุโรปมากที่สุด ควรจะได้ตระหนักรู้ว่า การปรับปรุงความผันผวนของ Solvency II อยู่ระหว่างการสอบทาน และหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่ถูกนำเสนอคือ การรวมอัตราส่วนการนำไปใช้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้กลุ่มการขาดสภาพคล่อง 3 กลุ่ม
- กำไรจาการให้บริการตามสัญญา (CSM)
กำไรจากการให้บริการตามสัญญา คือ ส่วนที่ซับซ้อนของการคำนวณภายใต้ IFRS17 และผลการสำรวจแสดงว่า ยังมีอีกหลายอย่างที่อุตสาหกรรมยังเห็นไม่ตรงกัน ส่วนที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็น หน่วยความคุ้มครอง แม้ว่าได้มีความคืบหน้าไปบางส่วนแล้ว ผลการสํารวจระบุว่า สำหรับผลิตภัณฑ์จำนวนมาก ยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับคำจำกัดความที่เหมาะสมของหน่วยความคุ้มครอง สำหรับการจัดกลุ่มสัญญา บริษัทส่วนใหญ่ตั้งใจที่จะมีการจัดกลุ่มกำไรจากการให้บริการตามสัญญา (CSM) เพิ่มเติมเกินกว่าระดับที่คำนวณ เพื่อรองรับรายงานการบริหารจัดการภายใน
- การวางแผนการดำเนินงาน
ผลสำรวจปีที่แล้วระบุว่า หลายบริษัทคาดว่าจะมีความก้าวหน้าที่สำคัญในปี2564 อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจปีนี้แสดงให้เห็นว่าความก้าวหน้านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง บริษัทยังมีความก้าวหน้าเท่าเดิมคล้ายกับปีที่ผ่านมา ในเรื่องของ end-to-end dry run, การจัดทำแผนธุรกิจภายใต้ IFRS 17 และการรายงานวิเคราะห์ความอ่อนไหว ซึ่งอาจบ่งชี้ว่า การนำไปปฏิบัติทำได้ยากเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ความล่าช้าของ IFRS 17 เกิดจากการเสียเวลาในการวางแผนครั้งแล้วครั้งเล่ารวมถึงทบทวนวิธีการที่จะใช้คำนวณ และการตัดสินใจเกี่ยวกับการคำนวณและการนำไปใช้ มากกว่าที่จะใช้เวลาทำให้การดำเนินงานก้าวไปข้างหน้า หรืออีกสาเหตุมาจากCOVID-19 ที่ใช้ระยะเวลานานกว่าที่คาดไว้
- การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลง
เปรียบเทียบผลการตอบแบบสอบถามในปีนี้กับปีที่ผ่านมา บ่งชี้ว่า บริษัทได้ค้นพบว่ามีอุปสรรคมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในการนำวิธีปรับย้อนหลัง และกำลังหันไปเลือกใช้วิธีการปรับปรุงย้อนหลังแบบดัดแปลง และวิธีมูลค่ายุติธรรม
- ความพร้อมและความกังวลของธุรกิจ
ผลสำรวจแสดงว่าการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมในกระแสเงินสดตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย หลายบริษัทระบุถึงการเปลี่ยนแปลงที่มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในปีที่แล้ว ในทำนองเดียวกันในปีนี้บริษัทอื่นๆ อีกหลายแห่งเลือกใช้ผู้ให้บริการจากภายนอก หรือโซลูชั่นสำเร็จรูปมากกว่าจะใช้โซลูชั่นของภายในองค์กรเอง สอดคล้องกับผลสำรวจอื่นๆ ซึ่งบ่งชี้ว่า การนำ IFRS17 ไปปฏิบัติยากเกินกว่าที่บริษัทคาดการณ์ไว้
คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศได้ยืนยัน เวอร์ชั่นของการแก้ไข IFRS 17 ในปี 2020 อย่างจำกัด ไม่ได้มีการแก้ไขในทุกเรื่องที่ถูกนำเสนอ จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ผลการสำรวจแสดงว่า ความกังวลยังคงอยู่ในบางประเด็นเช่น การประกันภัยต่อ หน่วยความคุ้มครองและ การรายงานทางการเงินระหว่างกาล
- การบัญชี
ผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความท้าทายในการคำนวณและการรวมบัญชีความถี่ในการรายงาน และการเปิดเผยข้อมูล ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากอยู่ภายใต้การรายงานเป็นรายไตรมาสต่อภายนอก ผู้ตอบแบบสอบถามพบว่ามีความท้าทายในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
1) เมื่อสัญญาประกันภัยมีสกุลเงินที่แตกต่างจากสกุลเงินที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
2) เมื่อสกุลเงินที่ใช้ในการปฏิบัติงานแตกต่างจาก สกุลเงินที่ใช้นำเสนองบการเงิน และ
3) เมื่อกลุ่มของสัญญาประกันภัยมีหลายสกุลเงิน ผู้ตอบแบบสอบถามยังเผชิญกับความท้าทายในกรณีที่มี CSM หลายค่าซึ่งเกิดจากสมมติฐานที่แตกต่างกัน รายการระหว่างกันของบริษัท และการจัดกลุ่มสัญญาประกันภัย
เมื่อพูดถึงการรวมงบการเงิน(Consolidation) มีผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าหนึ่งราย เห็นว่า ควรจะใช้ระดับการรวมทีละขั้นตอน มากกว่า การรวมโดยตรง ส่วนใหญ่ระบุว่าพวกเขาวางแผน เพื่อใช้วิธีบัญชีแยกประเภททั่วไปแบบเดิม ส่วนการคำนวณแบบละเอียดสำหรับ IFRS 17 จะให้เป็นผลผลิตในบัญชีแยกประเภทย่อย หรือระบบคณิตศาสตร์ประกันภัย
ความท้าทายหลายอย่างเหล่านี้ต้องการการคำนวณและการรายงานที่ละเอียดยิ่งขึ้น ระบบที่สามารถรวมเข้ากับหลายระดับได้
สำหรับรายละเอียดของแต่ละประเด็น ท่านสามารถอ่านได้จากเอกสารฉบับเต็ม IFRS17 Preparedness Report by The Actuary, Sponsored by Moody’s Analytics click ที่นี่
0 Comments