• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • HR Regulation
  • Professional Standards
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • HR Regulation
  • Professional Standards
  • ติดต่อเรา
Past service cost & Curtailment

Past service cost & Curtailment

  • On September 9, 2016

ต้นทุนบริการในอดีต และการลดขนาดโครงการ
Past service cost & Curtailment

ในภาวะที่เศรษฐกิจดี กิจการหลายแห่งมักจะมีการปรับปรุงรูปแบบผลประโยชน์เพื่อจูงใจเพื่อให้กับพนักงานอยู่กับองค์กรในระยะยาว ผลประโยชน์ระยะยาวจึงเป็นทางเลือกที่ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล พิจารณาปรับปรุง เช่น เพิ่มรางวัล สำหรับพนักงานที่ทำงานครบ 15 ปี จากเดิมที่มีเกณฑ์เพียงแค่ 5 ปี กับ 10 ปี เป็นต้น หรือในทางกลับกัน หากสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ดี บางหน่วยงานก็อาจจะมีนโยบายในการลดกำลังแรงงาน ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ย่อมเกี่ยวข้องกับมูลค่าหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (TAS19 / IAS19) ที่กิจการนั้นตั้งสำรองไว้ โดยผลกระทบจะแสดงในรายการที่เรียกว่า ต้นทุนบริการในอดีต (Past Service Cost) ซึ่งปัญหาที่พบส่วนใหญ่ก็คือ การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของผลประโยชน์ ระยะยาว ผู้จัดทำมักเน้นไปที่การมองผลกระทบทางการเงินในระยะสั้น เช่น ยังไม่ได้จ่ายวันนี้ แต่กว่าจะมีการจ่าย ผลประโยชน์ ก็อีกตั้ง 15 ปี เป็นต้น โดยไม่ได้วิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวต่องบการเงินตามมาตรฐานการบัญชี ทำให้เมื่อผลประโยชน์ระยะยาวมีผลบังคับใช้ กิจการอาจจะมีภาระที่จะต้องตั้งสำรองหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก

จากกรณีข้างต้นภายใต้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (TAS19 / IAS19) จะเรียกเหตุการณ์นี้ว่า ต้นทุนบริการในอดีต (Past Service Cost) ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ที่เป็นผลมาจากการแก้ไขโครงการหรือการลดขนาดโครงการลง ซึ่งกิจการจะต้องรับรู้ต้นทุนบริการในอดีตเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังต่อไปนี้

– เมื่อมีการแก้ไขโครงการหรือการลดขนาดโครงการลง และ

– เมื่อกิจการรับรู้ต้นทุนการปรับโครงสร้างที่เกี่ยวข้อง หรือผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง

ตัวอย่าง

บริษัทมีนโยบายแจกทองคำน้ำหนัก 1 บาทเมื่อพนักงานเกษียณอายุ ต่อมาบริษัทได้แก้ไขรูปแบบการจ่าย ผลประโยชน์โดยเพิ่มการแจกทองคำเป็นน้ำหนัก 1.5 บาท

ก่อนการแก้ไขรูปแบบผลประโยชน์ บริษัทได้วัดมูลค่าใหม่ของหนี้สินผลประโยชน์ที่กำหนดไว้สุทธิในส่วน ดังกล่าว โดยมูลค่าของหนี้สินในส่วนดังกล่าวเท่ากับ 1 ล้านบาท และเมื่อมีการแก้ไขรูปแบบผลประโยชน์ ของโครงการ มูลค่าของหนี้สินในส่วนดังกล่าวเปลี่ยนเป็น 1.7 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงของหนี้สินที่เพิ่มขึ้นจำนวน 0.7 ล้านบาท มาจากการเปลี่ยนปริมาณทองที่ผู้เกษียณอายุจะได้รับเพิ่มขึ้น

ดังนั้น บริษัทต้องรับรู้หนี้สินเพิ่มเติมอีก 0.7 ล้านบาท พร้อมกับรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนบริการในอดีต 0.7 ล้านบาททันทีเมื่อมีการแก้ไขรูปแบบการจ่ายผลประโยชน์ของโครงการ

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงแผนผลประโยชน์ของพนักงานจะส่งผลกระทบค่อนข้างสูง ดังนั้น การพิจารณาที่จะเปลี่ยนแปลงแผนผลประโยชน์ในระยะยาวใดๆ ทางทีมฝ่ายบุคคลจึงควรปรึกษาหารือกับ ทางทีมบัญชีและนักคณิตศาสตร์ก่อนเสมอ

นอกจากนี้ ต้นทุนบริการในอดีตจะไม่รวมถึงสิ่งต่างๆดังนี้

-ผลกระทบของผลต่างระหว่างเงินเดือนที่เกิดขึ้นจริงกับอัตราการขึ้นเงินเดือนที่คาดการณ์ไว้

-ผลต่างของผลประโยชน์ที่จ่ายจริงกับผลประโยชน์ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะจ่าย

ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะรับรู้อยู่ในผลกำไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย

 

0 Comments

Leave Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Categories
  • Business issues
  • Events & News
  • IFRS17
  • Insurance updates
  • TAS 19 / IAS 19 Employee Benefits
  • Uncategorized

Building actuarial consulting network

Previous thumb

What is actuarial gains and losses?

Next thumb
Scroll
Copyright 2022 Team Excellence Consulting Co., Ltd. All rights reserved