• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • HR Regulation
  • Professional Standards
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • HR Regulation
  • Professional Standards
  • ติดต่อเรา
Featured Image

แนวคิดการคำนวณและการบันทึกบัญชีโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (EJIP: Employee Joint Investment Program)

  • On May 19, 2023
ในอดีตที่ผ่านมากิจการในประเทศไทยหลายแห่ง มีการจัดหาผลประโยชน์ระยะยาวให้แก่พนักงานหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นการให้ตามอายุงานของการทำงานโดยตรง เช่น เมื่อพนักงานปฎิบัติงานครบ 5 ปี 10 ปี จะให้ผลประโยชน์ในรูปของเงินรางวัล หรือ ของรางวัลที่มีมูลค่าจำพวก ทองคำ ของที่ระลึกที่มีมูลค่า เป็นต้น  ซึ่งผลประโยชน์กลุ่มนี้ในทางบัญชี จะต้องมีการประเมินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานเพื่อตั้งสำรองทางบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 19 (IAS19 – Employee Benefit) อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการให้ผลประโยชน์ระยะยาวของกิจการก็มีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับรูปแบบของธุกิจ วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการบุคลากร ทั้งในเรื่องของความคาดหวังต่อการปฎิบัติงาน หรือลักษณะของกลุ่มพนักงาน และบนพื้นฐานของความยากง่ายของการบริหารจัดการแผนผลประโยชน์นั้นๆ เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่ง เริ่มให้ความสนใจการให้ผลประโยชน์พนักงานระยะยาวในรูปแบบที่เรียกว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  (EJIP: Employee Joint Investment Program) ซึ่งเป็นโครงการสำหรับพนักงาน ผู้บริหาร หรืออาจรวมถึงกรรมการของบริษัทที่จดทะเบียน (กรณีกรรมการจะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย)  โดยลักษณะโครงการจะอยุ่บนพื้นฐานของความสมัครใจ และเป็นการร่วมลงทุนระหว่างพนักงาน และบริษัท ในรูปแบบของการทยอยซื้อหุ้นของบริษัทที่พนักงานปฎิบัติงานอยู่จากตลาดหลักทรัพย์ อย่างสม่ำเสมอเป็นงวดๆ ตามวิธีการหรือรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการ ด้วยหลักการเฉลี่ยต้นทุน  (Dollar Cost Average)  ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานปฎิบัติงานให้กับองค์กรในระยะยาว และสร้างการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ (Long-term Incentives) โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้ประโยชน์ในรูปเงินสมทบเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท กำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นและเงินปันผล (ถ้ามี) ในด้านการบันทึกบัญชีสำหรับโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (EJIP) นั้น ที่ผ่านมาบริษัทส่วนใหญ่ยังความความสับสนในทางปฎิบัติ จากความเข้าใจผิดที่ว่า เงินสมทบโครงการร่วมลงทุนมีลักษณะเหมือนกับการบันทึกบัญชีกรณีเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งบันทึกเงินสมทบเป็นค่าใช้จ่ายได้ตรงๆ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ โครงการร่วมลงทุนนี้ เป็นการนำเงินไปลงทุนซื้อเฉพาะหุ้นของบริษัทเท่านั้น  (ผลประโยชน์ถูกอ้างอิงตามราคาหลักทรัพย์ของบริษัท) จึงเข้าข่ายการจ่ายผลประโยชน์โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ซึ่งจะต้องนำแนวทางการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ (TFRS2) มาถือปฎิบัติ หลักการของการบันทึกบัญชีโครงการร่วมลงทุน (EJIP) ภายใต้ TFRS2 พื้นฐานจะมีรูปแบบคือ Debit – Expense  และ Credit – Equity แต่ส่วนที่สำคัญจะต้องพิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับลักษณะและเงื่อนไขของแผนผลประโยชน์หรือโครงการนี้ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการเริ่มโครงการ จนถึงเวลาที่พนักงานจะได้สิทธิ์ขาดของผลประโยชน์ตามโครงการ (Vesting condition) นั้นๆ  หรืออธิบายได้ว่า จะต้องมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องตามสิทธิ์ที่พนักงานจะได้รับ ซึ่งกรณีเช่นนี้ ค่าใช้จ่ายในปีแรก ส่วนใหญ่จะมีมากกว่าปีหลังๆ (Front-End Load cost)   ขอยกกรณีตัวอย่างในการบันทึกบัญชีดังนี้ สมมติบริษัทมีโครงการเงินสมทบ (EJIP) โดยกำหนด […]
Read More
 
Featured Image

ค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ กับผลกระทบต่อการประเมินผลประโยชน์พนักงาน

  • On September 13, 2022
หลายท่านคงได้รับทราบข่าวการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ที่ประกาศ และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565  โดยภาพรวมการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้ มีการปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ถึง 6.6 ต่อปี หลังจากที่ไม่ได้มีการปรับอัตราค่าจ้างตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา โดยพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นพื้นที่ที่มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ สูงสุดอยู่ที่ร้อยละ 6.5 (311 บาทต่อวัน มาอยู่ที่ 353 บาทต่อวัน) ขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทรามีการปรับอัตราค่าจ้างต่ำที่สุด คือเพียงร้อยละ 4.5 (320 บาทต่อวัน มาอยู่ที่ 345 บาทต่อวัน) ทั้งนี้กระบวนการในการพิจารณาปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศไทยนั้น  จะเป็นการพิจารณาผ่านกลไกคณะกรรมการค่าจ้าง ในลักษณะไตรภาคี (Tripartite Committee) โดยมีกรรมการที่เป็นผู้แทนฝ่ายรัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้าง ฝ่ายละเท่าๆ กัน เพื่อให้มีการถ่วงดุลอํานาจของทุกฝ่าย ในการกําหนดค่าจ้างขั้นต่ำนั้น คณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำในระดับจังหวัด จะเป็นผู้พิจารณาเสนอแนะค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดต่อคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองทําหน้าที่ทบทวนข้อเสนอของคณะอนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำของจังหวัดก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้างพิจารณาตัดสิน โดยมีกรอบในการพิจารณา 3 ด้าน ได้แก่ (1) ค่าครองชีพของลูกจ้าง โดยพิจารณาจาก อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพที่ควรเป็น รวมทั้งค่าจ้างอื่นๆ (2) ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง โดยดูจากต้นทุนการผลิต กําไรของธุรกิจ และผลิตภาพของแรงงาน (3) สภาพเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งพิจารณาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ และสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ในมุมมองของลูกจ้าง การเรียกร้องค่าตอบแทน ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากต้นทุนการดำรงชีวิต ค่าครองชีพ ซึ่งสะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป  โดยอัตราเงินเฟ้อของไทยเดือนกรกฎาคม 2565 เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทางคณะกรรมการค่าจ้าง พิจารณาประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ให้สอดคล้องกับภาระค่าครองชีพในปัจจุบัน เมื่อฐานการคำนวณเงินสำรองผลประโยชน์พนักงานตามมาตฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (TAS19 – Employee Benefits) ซึ่งก็คือ ค่าจ้าง มีการเปลี่ยนแปลง ก็จะกระทบต่อจำนวนเงินที่ต้องตั้งสำรอง โดยเฉพาะกิจการที่มีสัดส่วนการจ้างงานพนักงานกลุ่มรายวันที่สูง อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญสำหรับกิจการในเรื่องนี้ก็คือ 1) กระทบมากน้อยแค่ไหน และ 2) กิจการจำเป็นต้องทบทวนรายงานการประเมินผลประโยชน์พนักงานสำหรับสิ้นรอบบัญชีนี้ใหม่หรือไม่? ในส่วนของผลกระทบนั้น โดยปกติการคำนวณจะมีปัจจัยหลักอยู่ 2 เรื่อง คือ ฐานค่าจ้างใหม่ ณ วันประเมิน ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.5 ถึง 6.6 และ การคาดการณ์อัตราค่าจ้างสุดท้าย […]
Read More
 1
Featured Image

แนวโน้มเงินเฟ้อ อัตราผลตอบแทน กับการประเมินผลประโยชน์พนักงาน

  • On July 11, 2022
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเพิ่มขึ้นในอัตราเร่ง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ตัวเลขล่าสุดของเดือนพฤษภาคม 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน การเพิ่มขึ้นของระดับราคาในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ส่งผลกระทบต่อตัวแปรสำคัญที่ใช้ในการคำนวณเงินสำรองผลประโยชน์พนักงานตามมาตฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (TAS19 – Employee Benefits) ซึ่งก็คือ อัตราคิดลด (Discount rate) ที่อ้างอิงมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น กิจการจะได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบอย่างไร และกิจการจะต้องเตรียมตัวอย่างไร
Read More
 
Featured Image

ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการประเมินผลประโยชน์พนักงาน

  • On October 6, 2020
สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ที่แพร่ระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน  กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของไทยเป็นอย่างมาก  สำนักวิจัยทางเศรษฐกิจหลายแห่งคาดว่าแนวโน้มของการฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี  ก่อนที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับมาอยู่ในระดับก่อนการระบาด…เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการประเมินผลประโยชน์พนักงานอย่างไร…
Read More
 1
Featured Image

วิถีใหม่สำหรับการประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19

  • On June 26, 2020
ภาพของการประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อมาตรฐานฯฉบับนี้บังคับใช้เมื่อปี 2554 ค่อนข้างมาก จากเดิมที่กิจการจะประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ณ วันสิ้นรอบบัญชี พร้อมประมาณการณ์ค่าใช้จ่ายเพื่อบันทึกบัญชีหนี้สินผลประโยชน์ไปล่วงหน้าอีก 3 ปี
Read More
 
Featured Image

อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลง VS การประเมินผลประโยชน์พนักงาน

  • On February 19, 2020
การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลกระทบต่อ การประเมินผลประโยชน์พนักงาน อย่างไร? นับตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 (จากเดิมร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.00 ต่อปี) เนื่องจากเศรษฐกิจไทยอาจโตต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากผลกระทบของไวรัสโคโรนา ปัญหาภัยแล้ง และงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่าช้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและการจ้างงานที่เกี่ยวเนื่องจำนวนมาก
Read More
 
Featured Image

สรุปเหตุการณ์สำคัญในปี 2019 ที่ส่งผลกระทบต่อการประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน

  • On December 25, 2019
ปี 2562 กำลังจะผ่านพ้นไป เรามาส่งท้ายปีด้วยการสรุปเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปีนี้ ที่ส่งผลกระทบต่อการประเมินหนี้สินผลประโยชน์พนักงานกันครับ
Read More
 1
Featured Image

TEC 10-year anniversary exclusive seminar

  • On October 11, 2018
On 10th October, Team Excellence Consulting held an exclusive seminar for our clients, both from insurance consulting side and from employee benefit service side. The seminar contained full of interesting topics, including IFRS17 updates as well as employee benefit cost from employer’s point of view and employee wealth management.
Read More
 
Featured Image

ทำความเข้าใจหลักการพื้นฐาน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ผลประโยชน์ของพนักงาน

  • On June 7, 2018
มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (TAS 19/IAS 19) เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน เป็นมาตรฐานการบัญชี ที่อธิบายและกำหนดแนวทางการบันทึกบัญชีที่ครอบคลุมการจ่ายผลประโยชน์ให้กับพนักงานทั้งหมด (ยกเว้น ผลประโยชน์ที่ให้ในลักษณะของหุ้น) โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 มีการกำหนดผลประโยชน์ของพนักงานไว้ 4 ประเภท ดังนี้
Read More
 2
Featured Image

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานและตารางมรณะไทย

  • On September 1, 2017
Team Excellence Consulting ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับปรุงผลประโยชน์เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน และการเปลี่ยนตารางมรณะไทย ที่มีต่อการประเมินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานตามมาตรฐานการบัญชีไทย ฉบับที่ 19 สามารถดาวน์โหลดรายงานการวิเคราะห์ได้ที่นี่ >> TEC Newsletter_Sep 2017    
Read More
 
Page 1 of 212
Categories
  • Business issues
  • Events & News
  • IFRS17
  • Insurance updates
  • TAS 19 / IAS 19 Employee Benefits
  • Uncategorized
Scroll
Copyright 2022 Team Excellence Consulting Co., Ltd. All rights reserved