• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • HR Regulation
  • Professional Standards
  • ติดต่อเรา
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการของเรา
    • คำนวณผลประโยชน์พนักงาน
    • ที่ปรึกษาด้านประกันภัย
    • บริการอื่นๆ
  • บทความ
  • Japan Desk
  • HR Regulation
  • Professional Standards
  • ติดต่อเรา
Featured Image

แนวคิดการคำนวณและการบันทึกบัญชีโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (EJIP: Employee Joint Investment Program)

  • On May 19, 2023
ในอดีตที่ผ่านมากิจการในประเทศไทยหลายแห่ง มีการจัดหาผลประโยชน์ระยะยาวให้แก่พนักงานหลายรูปแบบ แต่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่เป็นการให้ตามอายุงานของการทำงานโดยตรง เช่น เมื่อพนักงานปฎิบัติงานครบ 5 ปี 10 ปี จะให้ผลประโยชน์ในรูปของเงินรางวัล หรือ ของรางวัลที่มีมูลค่าจำพวก ทองคำ ของที่ระลึกที่มีมูลค่า เป็นต้น  ซึ่งผลประโยชน์กลุ่มนี้ในทางบัญชี จะต้องมีการประเมินภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงานเพื่อตั้งสำรองทางบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 19 (IAS19 – Employee Benefit) อย่างไรก็ตาม รูปแบบของการให้ผลประโยชน์ระยะยาวของกิจการก็มีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยน ให้สอดคล้องกับรูปแบบของธุกิจ วัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการบุคลากร ทั้งในเรื่องของความคาดหวังต่อการปฎิบัติงาน หรือลักษณะของกลุ่มพนักงาน และบนพื้นฐานของความยากง่ายของการบริหารจัดการแผนผลประโยชน์นั้นๆ เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทในตลาดหลักทรัพย์หลายแห่ง เริ่มให้ความสนใจการให้ผลประโยชน์พนักงานระยะยาวในรูปแบบที่เรียกว่า โครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง  (EJIP: Employee Joint Investment Program) ซึ่งเป็นโครงการสำหรับพนักงาน ผู้บริหาร หรืออาจรวมถึงกรรมการของบริษัทที่จดทะเบียน (กรณีกรรมการจะต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย)  โดยลักษณะโครงการจะอยุ่บนพื้นฐานของความสมัครใจ และเป็นการร่วมลงทุนระหว่างพนักงาน และบริษัท ในรูปแบบของการทยอยซื้อหุ้นของบริษัทที่พนักงานปฎิบัติงานอยู่จากตลาดหลักทรัพย์ อย่างสม่ำเสมอเป็นงวดๆ ตามวิธีการหรือรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มโครงการ ด้วยหลักการเฉลี่ยต้นทุน  (Dollar Cost Average)  ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างแรงจูงใจให้พนักงานปฎิบัติงานให้กับองค์กรในระยะยาว และสร้างการมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของกิจการ (Long-term Incentives) โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้ประโยชน์ในรูปเงินสมทบเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท กำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นและเงินปันผล (ถ้ามี) ในด้านการบันทึกบัญชีสำหรับโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (EJIP) นั้น ที่ผ่านมาบริษัทส่วนใหญ่ยังความความสับสนในทางปฎิบัติ จากความเข้าใจผิดที่ว่า เงินสมทบโครงการร่วมลงทุนมีลักษณะเหมือนกับการบันทึกบัญชีกรณีเงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งบันทึกเงินสมทบเป็นค่าใช้จ่ายได้ตรงๆ แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ โครงการร่วมลงทุนนี้ เป็นการนำเงินไปลงทุนซื้อเฉพาะหุ้นของบริษัทเท่านั้น  (ผลประโยชน์ถูกอ้างอิงตามราคาหลักทรัพย์ของบริษัท) จึงเข้าข่ายการจ่ายผลประโยชน์โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ซึ่งจะต้องนำแนวทางการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 เรื่อง การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ (TFRS2) มาถือปฎิบัติ หลักการของการบันทึกบัญชีโครงการร่วมลงทุน (EJIP) ภายใต้ TFRS2 พื้นฐานจะมีรูปแบบคือ Debit – Expense  และ Credit – Equity แต่ส่วนที่สำคัญจะต้องพิจารณากำหนดค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องกับลักษณะและเงื่อนไขของแผนผลประโยชน์หรือโครงการนี้ โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการเริ่มโครงการ จนถึงเวลาที่พนักงานจะได้สิทธิ์ขาดของผลประโยชน์ตามโครงการ (Vesting condition) นั้นๆ  หรืออธิบายได้ว่า จะต้องมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายให้สอดคล้องตามสิทธิ์ที่พนักงานจะได้รับ ซึ่งกรณีเช่นนี้ ค่าใช้จ่ายในปีแรก ส่วนใหญ่จะมีมากกว่าปีหลังๆ (Front-End Load cost)   ขอยกกรณีตัวอย่างในการบันทึกบัญชีดังนี้ สมมติบริษัทมีโครงการเงินสมทบ (EJIP) โดยกำหนด […]
Read More
 
Featured Image

ผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญต่อตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลัก (KPI’s)

  • On June 9, 2022
เมื่อมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 สัญญาประกันภัย ตัวชี้วัดประสิทธิภาพหลักที่พิจารณาจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างน้อยดังต่อไปนี้
Read More
 
Featured Image

PAA Eligibility Check(list) : (ราย)การตรวจสิทธิการนำวิธีวัดมูลค่าอย่างง่ายมาใช้

  • On September 17, 2021
สืบเนื่องจากการเขียนบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการเลือกใช้วิธีวัดมูลค่าของบริษัทประกันวินาศภัย ทำให้นึกถึงงานที่เพื่อนของผม คือ คุณสุชิน พงษ์พึ่งพิทักษ์ ได้ทำการตีความจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 17 เกี่ยวกับการตรวจสิทธิการนำวิธีวัดมูลค่าอย่างง่ายมาใช้
Read More
 
Featured Image

การเลือกวิธีวัดมูลค่าตาม IFRS17 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย (ตอนที่ 3 : ขั้นตอนการพิจารณา หากต้องการเลือกใช้วิธี PAA (ต่อ))

  • On September 13, 2021
มาถึงตอนสุดท้ายของซีรี่ส์การวัดมูลค่าตาม IFRS17 ยังมีอีกสองประเด็นที่บริษัทต้องพิจารณาหากสนใจที่จะเลือกใช้วิธี PAA ได้แก่ การทำสรุปรายการยกเว้นที่ PAA ไม่ต้องปฏิบัติเหมือนกับวิธีการวัดมูลค่าทั่วไป GMM และการเปิดเผยข้อมูลของวิธีการวัดมูลค่าอย่างง่าย PAA
Read More
 
Featured Image

การเลือกวิธีวัดมูลค่าตาม IFRS17 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย (ตอนที่ 2 : ขั้นตอนการพิจารณา หากต้องการเลือกใช้วิธี PAA)

  • On September 5, 2021
ต่อจากบทความที่แล้ว หลังจากรู้แล้วว่าบริษัทประกันวินาศภัยมีทางเลือกอยู่หลายทางในการเลือกวิธีวัดมูลค่า แต่วิธี PAA ถือว่าเป็นวิธีที่มีความน่าสนใจเนื่องจากถือว่าเป็นวิธีที่มีต้นทุนในการนำไปใช้ที่ต่ำกว่า ดังนั้น หากท่านสนใจที่จะเลือกใช้วิธี PAA บทความนี้ได้สรุปสิ่งที่บริษัทต้องพิจารณา โดยแบ่งเป็น 4 ประเด็นหลัก
Read More
 
Featured Image

การเลือกวิธีวัดมูลค่าตาม IFRS17 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย (ตอนที่ 1 : PAA หรือ GMM ควรเลือกใช้วิธีไหน?)

  • On August 31, 2021
หลังจากคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีสากล (IASB) ได้กำหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 “สัญญาประกันภัย” (IFRS17) เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งจะมาใช้แทนมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 4 (IFRS4) ที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 วัตถุประสงค์สำคัญคือการกำหนดให้การวัดมูลค่าสำหรับสัญญาประกันภัย มีความสอดคล้องกันสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยทั่วโลก ผ่านมา 3 ปีทางคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล (IASB) ได้เผยแพร่ IFRS17 ฉบับแก้ไข เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2563 รวมถึงการเลื่อนวันกำหนดใช้มาตรฐานไปเป็น ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2566 ซึ่งสำหรับประเทศไทยจะเป็น 1 มกราคม พ.ศ.2567 ( 1 ปีช้ากว่าการนำไปใช้ของทั่วโลก)
Read More
 
Featured Image

กระทรวงแรงงาน ปรับปรุงอัตราค่าทำศพลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายเพิ่มเป็น 50,000 บาท

  • On July 22, 2021
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าทำศพที่ให้นายจ้างจ่ายเมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย ในอัตรา 50,000 บาท หลายกิจการอาจจะสงสัยว่าเงินจำนวนดังกล่าว เป็นภาระโดยตรงของกิจการหรือไม่ และในเรื่องของการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์พนักงาน จำเป็นที่ต้องตั้งสำรองเพิ่มเติมหรือไม่ หากต้องตั้งสำรองจะมีจำนวนประมาณเท่าไร
Read More
 
Categories
  • Business issues
  • Events & News
  • IFRS17
  • Insurance updates
  • TAS 19 / IAS 19 Employee Benefits
  • Uncategorized
Scroll
Copyright 2022 Team Excellence Consulting Co., Ltd. All rights reserved